Saturday, 27 April 2024
ECONBIZ NEWS

กระทรวงพลังงาน จับมือ ปตท. ร่วมเป็นเจ้าภาพงาน Future Energy Asia 2023 ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงาน และยานยนต์ ระดับภูมิภาคเอเชีย

ดร.วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการและการประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงทางพลังงานระดับภูมิภาค Future Energy Asia 2023 โดยมีนายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ร่วมกล่าวปาฐกถาเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน (Energy Transition) คาดการณ์สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม กลุ่ม ปตท. ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเตรียมพร้อมรับความท้าทาย ตามวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond” มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน สู่การดำเนินธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต อาทิ การลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจไฮโดรเจน รวมถึงเร่งการดำเนินงานในธุรกิจ LNG ที่จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอีกด้วย

'พาณิชย์ฯ' ขึ้นทะเบียน GI 'ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา' ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า เปิดโอกาสส่งออกสู่ตลาดสากล

(ยะลา) นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศขึ้นทะเบียน 'ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา' เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตัวใหม่ของจังหวัดยะลา โดยมั่นใจว่าด้วยรสชาติและกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร จะช่วยให้ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภค และส่งผลดีต่อการส่งออกผลไม้ไทยสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนและมาเลเซีย ซึ่งสอดรับกับนโยบายสร้างความเข้มเเข็งเศรษฐกิจชุมชนไทย กระจายรายได้สู่เกษตรกรรายย่อยที่กระทรวงพาณิชย์ผลักดัน

สำหรับทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติที่โดดเด่น หวานมัน เนื้อเเห้ง ละเอียด เส้นใยน้อย มีกลิ่นเฉพาะตัว และเนื้อมีสีเหลืองอ่อนหรือเข้มตามแต่ละสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ก้านยาว, พันธุ์ชะนี, พันธุ์พวงมณี, พันธุ์มูซังคิง และพันธุ์หนามดำหรือโอฉี่ ปลูกได้ตลอดทั้งปี ปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งเเต่ 100 เมตรขึ้นไป ตามไหล่เขา สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. ของทุกปี ผนวกกับความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ที่ร่วมกันพัฒนาคุณภาพสินค้าและบรรจุภัณฑ์ จึงทำให้ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา เป็นอีกหนึ่งแหล่งรายได้สำคัญของจังหวัดยะลา ถัดจาก 'กล้วยหินบันนังสตา' ที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้

โดยก่อนหน้านี้ทางจังหวัดยะลา พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และเครือข่ายเกษตรกร ได้ร่วมกันกำหนด 1 ในยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา คือยะลาเมืองทุเรียน (Yala Durian City) กำหนดเป้าหมายให้จังหวัดยะลา เป็นเมืองทุเรียนแห่งภาคใต้ตอนล่าง โดยมีแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตทุเรียนแบบครบวงจร

ซึ่งจังหวัดยะลา เป็นแหล่งปลูกทุเรียน และมีปริมาณผลผลิตมากที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่มีคุณภาพ ในปี 2563 มีเนื้อที่ปลูกทุเรียน 73,890 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 53,621 ไร่ ครัวเรือนผู้ปลูก 25,326 ครัวเรือน ผลผลิตรวม 53,031 ตัน โดยเนื้อที่ปลูกกระจายทั่วทุกพื้นที่ ลักษณะการปลูกข้างบ้าน สวนผสม และปลูกร่วมพืชอื่น ๆ

‘ปตท.’ มุ่งต่อยอด ‘ขยะ’ สู่วัสดุทดแทนที่มีคุณค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - สอดคล้อง BCG Model

ปตท. มุ่งพัฒนาศักยภาพ 'ขยะ' ต่อยอดเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ร่วมขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ (BCG Model) ของประเทศไทย

จากวัสดุเหลือทิ้ง หรือ ‘ขยะ’ ที่ถูกมองข้าม ปตท. โดยทีมนักวิจัย จากสถาบันนวัตกรรม และ บริษัท เอช จี เนกซ์ จำกัด จับมือร่วมพัฒนาต่อยอดจนได้ทางออกที่สมบูรณ์ให้กับผู้ที่อยากเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นทรัพยากรทดแทนที่มีคุณค่า เติมเต็มช่องว่างของการค้นหาทรัพยากรใหม่ ๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดในปัจจุบัน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดพิธีเปิดงานนิทรรศการ ‘Waste is MORE’ โดยมี นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิดงานนิทรรศการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นให้เห็นถึงมิติของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านการพัฒนาศักยภาพของ ‘ขยะ’ ที่ถูกมองว่าไร้ค่า ให้กลายเป็นวัสดุทดแทนที่ ‘ไม่ไร้ค่า’ อีกต่อไป โดย ปตท. พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันศักยภาพของนวัตกรรมการวิจัย และการออกแบบของคนไทย ให้เติบโตไปแข่งขันในเวทีระดับโลก ทั้งยังคำนึงถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ปตท. ร่วมแก้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 หนุนพนักงาน Work from Home

เมื่อวันที่ 3 ก.พ.66 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)  กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด ทำให้ฝุ่นละอองสะสมตัวมากขึ้น และส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานของคนไทย เราตระหนักถึงปัญหาจึงมีนโยบายให้พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, นครราชสีมา, พระนครศรีอยุธยา, ระยอง, ราชบุรี และขอนแก่น ปฏิบัติงานในที่พัก (Work from Home) ระหว่างวันที่ 3 – 5 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อร่วมลดผลกระทบที่เกิดจากการสัญจร

ทั้งนี้ ปตท. ยึดมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชม และสิ่งแวดล้อม พร้อมตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ซึ่งเร็วกว่าที่ประเทศกำหนด ด้วยกลยุทธ์เชิงรุก 'ปรับ เปลี่ยน ปลูก' ปรับกระบวนการผลิต ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการให้ได้สูงสุด เปลี่ยนสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มสัดส่วนการลงทุนโดยมุ่งธุรกิจพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน และธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร ปลูกป่าเพิ่ม 2 ล้านไร่ โดย ปตท. เป็นแกนหลักในการปลูก 1 ล้านไร่ ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) และกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ เพื่อเพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ

กลุ่ม ปตท. ดันเทคโนโลยีดิจิทัล หนุน ศก.สร้างสรรค์ ช่วยขับเคลื่อนเสน่ห์ Soft Power ไทยสู่เวทีสากล

กลุ่ม ปตท. ร่วมขับเคลื่อน Soft Power ไทย ดันเทคโนโลยีดิจิทัลหนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมส่งออกคอนเทนต์ไทยคุณภาพสู่เวทีสากล จับมือพันธมิตรต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย สนับสนุน ‘ระบบนิเวศสร้างสรรค์’ ผ่านอุตสาหกรรมคอนเทนต์ มุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ได้มาตรฐานสากล รองรับการผลิตคอนเทนต์ไทยสู่ตลาดโลก เพื่อพัฒนารายได้และคุณภาพชีวิตคนไทย ยกระดับเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน

เมื่อวันที่ 3 ก.พ.66 นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ซอฟท์พาวเวอร์ (Soft Power) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการแพร่ขยายอิทธิพลทางค่านิยม หรือ วัฒนธรรม ที่นานาประเทศผลักดันให้เป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)

ปตท. เล็งเห็นถึงโอกาสของการต่อยอดแนวคิดดังกล่าว เพื่อรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงานให้พร้อมรับการแข่งขันบนเวทีโลก ด้วยวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond” จึงจัดตั้งโครงการ Soft Power for Better Thailand ขึ้น เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทย หรือ 'เสน่ห์ไทย' ที่เกิดจากวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีปฏิบัติอันเป็นภูมิปัญญาของประเทศไทย ที่อยู่ในความสนใจของชาวต่างชาติ ซึ่งนอกจากจะเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจที่จะสามารถดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพื่อขยายฐานอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Industry) ในประเทศไทย ที่จะช่วยสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย หลังสถานการณ์โรคติดเชื้อ COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย

“ปตท. จับมือพันธมิตรภาคส่วนต่างๆ ทั้งจาก บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านซอฟท์พาวเวอร์ ผ่านการนำเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ภายใต้แนวคิด TECH CREATE FUN คือ การนำเทคโนโลยี (TECH) เช่น Virtual Reality, Augmented Reality, Drone และ Metaverse เป็นต้น มาเสริมศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงาน (CREATE) เช่น ภาพยนตร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ หรือ งานศิลปะ เพื่อให้ทั้งผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีขึ้น (FUN) รวมไปถึงยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทย ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมคอนเทนต์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งการพัฒนาทักษะบุคลากร การสนับสนุนด้านทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยมียุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่...

ปตท. หนุนกิจกรรม ‘เดิน-วิ่ง OLYMPIC DAY 2023’ กระตุ้นคนไทยรักสุขภาพ - กระจายรายได้สู่ภูมิภาค

ปตท. ส่งเสริมสุขภาพคนไทย พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนกิจกรรมเดิน-วิ่ง OLYMPIC DAY 2023 ใน 4 จังหวัด

(2 ก.พ. 66) นางกนกพร รอดรุ่งเรือง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ร่วมงานแถลงข่าวพร้อมสนับสนุนการจัดกิจกรรม ‘เดิน - วิ่ง OLYMPIC 2023’ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมี นายพิชัย ชุณหวชิระ รองประธานกรรมการ โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานอนุกรรมการฝ่ายกีฬาเพื่อมวลชนและสิ่งแวดล้อม ประธานจัดการแข่งขัน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนหันมาออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพ

ททท.ภูเก็ต เผยปี 65 นทท.เข้าภูเก็ตกว่า 9 ล้านคน คาด ปี 66 เพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน

ผอ.ททท.ภูเก็ต เผยตลอดปี 65 นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเข้าภูเก็ต 9.2 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 2 แสนล้านบาท ได้ถึง 50% ของรายได้ก่อนเกิดโควิด รัสเซียเข้ามามากเป็นอันดับ 1 ส่วนปีนี้ 12 ล้านคน

น.ส.นันทาศิริ รณศิริ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภูเก็ต เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.- ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาภูเก็ต จำนวน 9.2 ล้านคน เป็นนักท่องท่องเที่ยวคนไทย 53% ประมาณ 5 ล้านคน และที่เหลือ 46% เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประมาณ 4.6 ล้านคน

โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเข้ามาเป็นจำนวนมากตั้งแต่เดือน ต.ค. 2565 เป็นต้นมา ทำให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 230,000 ล้านบาท คิดเป็น 50% โดยเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอยู่ที่ร้อยละ 74.4 และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย ร้อยละ 25.6 ของรายได้ที่เกิดขึ้นก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด

มังคุดปรังพัทลุง เกษตรกรทำออกนอกฤดู ราคากก.เกือบ 200 บาท เผย ปีนี้ได้ผลผลิตน้อย

'มังคุดนอกฤดู' หรือ 'มังคุดปรัง' เกษตรกรปลูกในพื้นที่เทือกเขาบรรทัด จังหวัดพัทลุง ราคาพุ่งสูงถึง 100-140 บาทต่อ กก. ไซซ์ใหญ่ 8 ผลต่อ กก. ขายกันที่ 180 บาท แต่ผลผลิตมีน้อยได้ผลเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 นายกฤษฎา ลำปัง ประธานกลุ่มเกษตรมังคุดแปลงใหญ่ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า มังคุดนอกฤดูกาลหรือมังคุดปรัง ได้ทยอยออกมาประมาณ 1 เดือนแล้ว โดยบางสวนไม่มีผลผลิต บางสวนมีผลผลิต บางต้นเก็บได้ 4-5 ลูก ทั้งได้ขนาดและไม่ได้ขนาด บางต้นมีมากกว่า 10 ลูก ซึ่งภาพรวมในปีนี้ มีผลผลิตได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ที่สวนของตน มีพ่อค้าแม่ค้าที่จะมารับซื้อถึงสวน โดยราคาซื้อขายตามขนาดและคุณภาพของมังคุด ขั้นแรกประมาณ 100-140 บาท/กิโลกรัม ส่วนราคาของมังคุดในฤดูกาลปกติมีราคาซื้อขายประมาณ 20-35 บาท

ของถูกอร่อย!! ร้านก๊ะโตนปรับกลยุทธ์ขายกับข้าวชามละ 10 บาท ข้าวฟรีไม่อั้น ยอดสะพัดนับหมื่น

วันที่ 27 มกราคม 2566 “ร้านก๊ะโตน” ร้านขายข้าวแกงบริเวณสี่แยกเจ๊ะบิลัง ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ปรับกลยุทธ์ขายกับข้าวชามละ 10 บาท อีกทั้งยังตักข้าวสวยร้อน ๆ ได้ไม่อั้น ทำลูกค้าติดอกติดใจยอดสะพัดวันละ 10,000 บาท

ยุคที่ร้านขายข้าวแกง อาหารตามสั่งมีหลายร้านในพื้นที่จังหวัดสตูล จึงทำให้มีอีกหนึ่งร้านในพื้นที่บริเวณสี่แยกเจ๊ะบิลัง ต.พิมาน อ.เมืองสตูล จ.สตูล ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ โดยร้านแห่งนี้เป็นแนวคิดของของ นางสัยโตน ปาดูลัง อายุ 52 ปี เจ้าของ “ร้านก๊ะโตน” ที่ขายข้าวแกงมานานถึง 7 ปี

ด้วยสถานการณ์ที่ข้าวของแพงขึ้น และลูกค้าลดน้อยลง จึงต้องปรับแผนในการขาย มาเน้นขายแกงชามละ 10 บาท โดยได้ปรับเปลี่ยนแนวการขายมาประมาณเดือนกว่า ๆ แล้ว โดยฟรีข้าวสวยตักไม่อั้น จนทำให้ลูกค้าเยอะขึ้น แถมมี 20 บาทก็อิ่มได้

นางสัยโตน ปาดูลัง อายุ 52 ปี เจ้าของร้านขายข้าวแกงชามละ 10 บาท กล่าวว่า เมื่อก่อนขายข้าวแกง และอาหารตามสั่งทั่วไป และขายไม่ค่อยดีมากเท่าไหร่ รวมทั้งเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีมากนักช่วงนี้ คนไม่ค่อยมีรายได้ จึงปรับเปลี่ยนเน้นทำเมนูกับข้าว แกงไก่ ผัดเผ็ดปลาดุก ต้ม ผัด แกงจืด สารพัดเมนูนับ 20 กว่าอย่าง และตักใส่ถ้วยชามขายเป็นกับ ชามละ 10 บาท ทุกอย่าง และฟรีข้าวสวยตักไม่อั้น จนจุกินเยอะกินเท่าไหร่ข้าวสวยร้อนๆ ตักได้เลย และที่สำคัญขายแกง แถมผักน้ำพริกให้ด้วย

ไอเดียเจ๋ง!! เกษตรกรตรังหัวใส ทำ 'ข้าวหลามอบโอ่ง' เจ้าแรกใน จ.ตรัง หอม อร่อย ขายดีจนทำแทบไม่ทัน

เกษตรกรชาวอำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ผุดไอเดียทำ 'ข้าวหลามอบโอ่ง' แทนการเผาลานหรือเผาไฟเป็นแนวยาว นอกจากจะเป็นการแปรรูปข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองให้ขายดีขึ้นแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ทำให้มีกลิ่นหอม ขนย้ายสะดวก และสามารถนำไปอบไก่ อบปลาหรืออาหารอย่างอื่นได้โดยใช้โอ่งใบเดียวกัน

เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่แปลงนาหมู่ที่ 5 ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีการลงแขกเกี่ยวข้าวพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเกษตรกรจากหลายตำบล ต่างนำอาหารหวานคาวไปร่วมรับประทาน โดยนายเปลื้อง ช่วยรุย อายุ 52 ปี เกษตรกรซึ่งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด ได้นำนวัตกรรมใหม่ของตน มาโชว์และแจกในงาน นั่นคือ 'ข้าวหลามอบโอ่ง' แม้จะตั้งโอ่งไว้ช่วงท้ายงาน แต่ความหอมของข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง ผสมกับน้ำกะทิ ถั่วและไม้ไผ่ สามารถดึงดูดใจชาวบ้านให้หันมามองและมาต่อคิว เพื่อขอชิมจนหมดเกลี้ยงเกือบ 100 กระบอก จนข้าวหลามสุกไม่ทันกันเลยทีเดียว และนับเป็นข้าวหลามอบโอ่งที่ทำเป็นรายแรกในจังหวัดตรัง

สวนแนวคิดการทำข้าวหลามอบโอ่ง มาจากการที่นายเปลื้องฯ เป็นเกษตรกรผู้ปลูกไผ่หลากหลายสายพันธุ์บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ ซึ่งแต่เดิมขายเฉพาะต้นไผ่กับหน่อไม้ แต่เมื่อเห็นชาวตรังชอบกินข้าวหลาม และมีขายในงานเทศกาลทุกงาน จนข้าวหลามกลายเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ และแทบทุกคนจะต้องซื้อติดมือกลับบ้าน ประกอบกับตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด มีการปลูกข้าวเจ้าและข้าวเหนียวไว้กินเอง ทำให้คิดทำข้าวหลามขึ้น และทำมานาน 4-5 ปีแล้ว โดยใช้ไผ่ที่ปลูกคือไผ่ข้าวหลามกาบแดง, ไผ่กิมซุง และไผ่สีสุก

โดยนำโอ่งมังกรที่บ้านมาเจาะรู เพื่อระบายอากาศเล็กน้อย ใช้เตาถ่านอยู่ด้านล่างสุดของโอ่ง อบด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม อาศัยการดูสีของกระบอกไม้ไผ่เป็นหลัก ซึ่งสามารถอบข้าวหลามได้ครั้งละไม่ต่ำกว่า 20 กระบอก โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ

ซึ่งวิธีนี้ นอกจากจะประหยัดพลังงานแล้ว ยังทำให้มีกลิ่นหอม ไม่ร้อน ไม่มีควันไฟ ไม่มีกลิ่นควันไฟในเนื้อข้าวหลาม ทั้งยังไม่มีปัญหาไฟลุกไหม้หรือลุกลามไปติดพื้นที่ข้างเคียง ขนย้ายสะดวก และยังนำอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น หมู ปลา ไก่ เนื้อและอื่น ๆ ไปอบในโอ่งได้อีกด้วย โดยใช้แทนการเผาข้าวหลามแบบเผาลานที่ต้องก่อไฟเป็นแนวยาวได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้าวหลามอบโอ่งกำลังจะมีการรวมกลุ่มกันในชุมชน เพื่อผลิตเป็นสินค้าโอทอป ส่งขายสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอีกทางหนึ่งด้วย


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. South Time Thailand
Take Me Top